Monday, June 07, 2010

มหัศจรรย์ในลมหายใจ

วันนี้...คุณมั่นดูแล รักษาลมหายใจ แล้วหรือยัง...?


ลมหายใจไม่เพียงแต่จะมีประโยขน์แค่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น แต่ยังมีสมรรถภาพให้แก่ดวงจิต และทำความแข็งแรงให้แก่ เส้นประสาทอีกส่วนหนึ่งด้วย นักปราชญ์โบราญ ได้กล่าวไว้ว่าทุกครั้งที่เราหายใจลึกๆ เราจะสูดเอากำลังของความเข้มแข็ง จากพื้นโลกที่มีอยู่ทุกที่ ซึ่งความเข้มแข็งนี้ เกิดจากธาตุต่างๆ , จากต้นไม้, จากอำนาจของดวงดาวในจักรวาล...!
นักปราชญ์โบราญ ได้ยก อุทาหรณ์มาชี้แจงให้เข้าใจ 4 ประการ คือ:-<!..ส่วนที่แสดง...><!..ส่วนที่แสดง...>
1. ในเวลานอนหลับ เป็นเวลาที่ธรรมชาติ ต้องการให้มนุษย์เอากำลังความเข้มแข็งใส่ตัว(หรือที่เรียกกันเล่นๆว่า ชาร์จแบต) เพื่อทดแทนกำลังที่ใช้ไป ในช่วงเวลาที่ตื่นอยู่ เพราะฉะนั้น...ในเวลาที่หลับ เราจึงหายใจแรงกว่า เวลาที่ตื่นอยู่
2. เวลาที่คนเรา ต้องคิดอะไรมากๆนั้น เราจะใช้กำลังความเข้มแข็งในตัวของเราไปมาก ตามธรรมชาติเราจะรู้สึกหายใจแรงๆเสียบ้าง เพื่อดูดเอากำลังใหม่เข้ามาสำรองไว้ การหายใจแรงๆ เช่นนี้ก็คือการถอนใจใหญ่ นั้นเอง
3. คนเราที่ใช้กำลังมากๆ จนเหน็ดเหนื่อย เช่น การไปออกกำลังกาย ย่อมใช้กำลังออกไปจากตัวมาก จืงมีอาการเหนื่อยหอบ และหายใจเร็ว เพื่อดูดเอากำลังเข้ามาแทนที่
4. ถ้าเราสังเกตให้ดีแล้ว จะเห็นว่าคนที่มีความ องอาจกล้าหาญ มีนิสัยเป็นคนเข้มแข็งนั้น มักจะเป็นคนหายใจแรงและหายใจลึก
จากอุทาหรณ์ที่กล่าวมานี้ ก็แปลว่า คนเราอาจนำเอาอำนาจภายนอกเข้ามาใส่ตัวได้ และโดยเหตุนี้เองการหายใจลึกๆ จึงเป็นวิธีปลูกจิตตานุภาพ(อานุภาพของดวงจิต) ได้นั่นเอง
วิธีฝึกหัด ในเรื่องการเพิ่มความแข็งแรง ของลมหายใจนั้น มีอยู่ดังนี้
1.ตามปรกติไม่ว่าเวลาใด เราควรหายใจแรงและลืกๆไว้เสมอๆ ในขั้นต้นเรามักจะลืม แต่ถ้านึกได้เมื่อใดก็ควรหายใจแรงๆทันที เมื่อใดที่เราพยายามทำให้การหายใจแรงและลึก กลายเป็นปกติตนของเราได้แล้ว เมื่อนั้นเราก็จะเป็นคนที่มีลักษณะเข้มแข็งทั้งกายและใจ...!
2. เวลาตื่นนอน ก่อนลุกจากที่นอน ควรทำการฝืกหัดดังนี้:-
-ขั้นที่ ๑ เหยียดขาและแขนให้ตรง ปิดปากให้แน่น แล้วหายใจอย่างลึกๆที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลายๆครั้ง.
-ขั้นที่ ๒ เอามือทั้ง2ข้างพาดไว้ที่บนท้อง หายใจลึกๆ จนทำให้ท้องพองขึ้น แล้วหายใจออก ให้พยายามทำให้ท้องแบนลงโดยเอามือกด.
-ขั้นที่ ๓ จะเป็นประโยชน์แก่ปอด คือเอามือพาดท้องและหายใจเข้า จนท้องพองอย่างแบบในขั้นที่ ๒ แต่ไม่หายใจออก เก็บลมหายใจไว้ในท้องให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในระหว่างที่เก็บลมหายใจไว้นี้ ให้ทำท้องให้แบนลง เพื่อขับลมหายใจขึ้นสู่หน้าอก เมื่อเต็มกลั้นแล้ว จึงปล่อยลมหายใจออก
การฝึกหัด ควรค่อยทำไปทีละน้อยๆ ในวันแรกๆ และค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้ง มากขึ้นในวันต่อๆไป...!


<!..ส่วนที่เหลือ...>

<!..ส่วนที่เหลือ...>

Leave a Reply

 
 

Total Pageviews

Ideas Delivery

เรื่องเล่า วันสบาย...!

Day comfort

Graphic Design

Work at home on the internet.